นักศึกษาและบุคลากรสาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการ “การปฎิบัติการการจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต”

กิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการ  “การปฎิบัติการการจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต”

จัดขึ้นในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรม

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และปลูกฝังจิตสำนึกด้านการลดใช้ขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งใน ร้านค้า มหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ และสำนักงานต่างๆและยังสร้างแรงบันดาลใจด้านการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เนื้อหาในการอบรม

การส่งเสริมการอบรม/สัมนา ส่งเสริมการคัดแยกขยะ และการจัดการและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเข้าสู่รีไซเคิล โดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (TIPMSE) ได้มีการส่งเสริมดังนี้

1.Education การอบรมหรือการการสัมนา Infographic บูธนิเทศการสื่อออนไลน์ บูรณาการความรู้ สพฐ

2.Promotion ส่งเสริมการคัดแยก จัดการและนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมารีไซเคิล
ตลาดนัดรีไซเคิล

3.Connection การสร้างความเชื่อมโยง เป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมให้วงจรการจัดการบรรจุภัณฑ์เกิดความยั่งยืน

สังคมแห่งการบริโภคที่ยั่งยืน

ต้องรู้จักการคัดแยก มีการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและที่สำคัญคือต้องตระหนักถึงพฤติกรรม มีจิตอาสา

ประเภทการแยกขยะ

ขยะย่อยสลาย (Compo stable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น

ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น

ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ

ขยะทั่วไป (General waste) หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น

ถังขยะเพื่อแยกได้แก่

ถังขยะสีเขียว คือ ขยะอินทรีย์

ถังขยะสีฟ้า คือ ขยะทั่วไป

ถังขยะสีเหลือง คือ ขยะรีไซเคิล

ถังขยะสีแดง คือ ขยะอันตราย

จากการสรุปเห็นได้ว่าขยะอินทรีย์มีมากที่สุดถึง 60 % ซึ่งเป็นขยะที่นำมาเป็นอินทรีย์ไม่ค่อยได้

ขยะทั่วไป 5 % และขยะอันตราย 5%

การจัดการขยะกับ 3 Rs

1. Reduce คือ การลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และแร่ธาตุต่างๆ

2.Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลายๆครั้ง เช่น การซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ขาดมาเย็บแล้วมาใส่ใหม่

3.Recycle คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการลดการใช้ทรัพยากรในธรรมชาติจำพวกต้นไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ทราย เหล็ก อลูมิเนียม ซึ่งทรัพยาเหล่านี้ สามารถนำมารีไซเคิลได้ยกตัวอย่างเช่น เศษกระดาษสามารถนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นกล่องหรือถุงกระดาษ

รูปภาพกิจกรรม

Blog Attachment

Leave us a Comment